เสาเข็มเป็นฐานรากในการถ่ายน้ำหนักของฐานรากลงสู่ชั้นใต้ดิน เพื่อต้องการลดขนาดของฐานราก ที่ดินมีคุณสมบัติการรับน้าหนักได้น้อยเช่น ดินเหนียว เป็นต้น กรณีฐานรากรับน้าหนักจากเสามากและพื้นที่ก่อสร้างจำกัด หรือในกรณี

เสาเข็มปัจจุบันทำด้วยคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน เสาเข็มหน้าตัดตัวไอ ซึ่งมีประเภทดังนี้
เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก
ปัจจุบันไม่นิยมมากนักเนื่องจากไม่ประหยัด จึงใช้เข็มคอนกรีตอัดแรงแทน เสาเข็มเสริมเหล็กนิยมหล่อในหน่วยงาน โดยออกแบบเหล็กเสริมตามยาวให้เพียงเพื่อรับโมเมนต์ดัดจากการเคลื่อนย้าย และการตอก
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (Prestressedconcrete pile)
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงใช้เทคนิคการดึงลวดรับแรงดึง แล้วเทคอนกรีตลงในแบบ เมื่อคอนกรีตแข็งตัดลวดรับแรงดึง เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงลดปัญหาการแตกร้าวของเสาเข็ม เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง (หรืออีกชื่อ เสาเข็มสปัน) ใช้กรรมวิธีการผลิตโดยการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อด้วยแรงหมุนความเร็วสูง

เสาเข็มคอนกรีตหล่อในที่ (Cast-in-place concretepile)
เสาเข็มคอนกรีตหล่อในที่ หรือ "เสาเข็มเจาะ" เลือกใช้เพื่อให้เกิดผลกระทบการสั่นสะเทือนต่อบริเวณอาคารรอบข้างน้อย สามารถควบคุมตำแหน่งได้ดีกว่า และทำความลึกได้มากกว่าเสาเข็มตอก
เสาเข็มเหล็ก (Steel pile)
เสาเข็มเหล็ก ทำจากเหล็กทั้งท่อน รับน้ำหนักได้สูงกว่าเสาเข็มคอนกรีตและเสาเข็มไม้ มีราคาแพง และเกิดการผุกร่อนจากสนิมได้ง่าย เหมาะสำหรับโครงสร้างชั่วคราว แต่ต้องทำการรื้อถอนภายหลัง
เสาเข็มไม้
เสาเข็มไม้หาได้ง่าย น้ำหนักเบา ขนส่งสะดวก ราคาถูก ความสามารถรองรับน้ำหนักค่อนข้างต่ำ จึงจำเป็นต้องตอกเสาเข็มไม้เป็นกลุ่ม เพื่อฐานรากขนาดใหญ่แข็งแรงควรตอกให้ต่่ำกว่าระดับน้ำใต้ดิน ป้องกันการผุกร่อนจากปลวกและเห็ดรา ปัจจุบันนิยมใช้เสาเข็มไม้สนและยูคาลิปตัส

บทความล่าสุดอื่นๆ